เมนู

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า สาธุ ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับคำของพระเป็นเจ้าไว้ พระโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้ พระองค์
กระทำทุกรกิริยาเพื่อว่าจะให้พระบารมีแก่กล้าอย่างนั้นหรือ โยมพึ่งจะมนสิการเข้าใจใน
กาลบัดนี้
ทุกกรการิกปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

กุสลากุสลานัง พลวาพลวปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา กุศลนี้จะกล้าหรือว่าอกุศลจะกล้า อันว่ากุศลกรรมแลอกุศลกรรมนี้ข้าง
ไหนจะมีกำลังมากกว่ากัน พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กุสลํ
อันว่ากุศล อธิมตฺตํ พลวตรํ มีกำลังกล้ากว่าอกุศล ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ น สทฺทหามิ โยมไม่เชื่อเลย อะไรจะว่ากุศลกล้ามี
กำลังยิ่งกว่าอกุศลนั้น ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา มนุษย์ในโลกนี้กระทำ
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และฆ่าชาวบ้าน ฆ่าคนเดินหนทางและ
ลวงเขา เอาเขาไม่ฆ่าเสียนั้นก็ดี สพฺเพ มนุสฺสา อันว่ามนุษย์ที่กระทำอกุศลกรรมทั้งปวงนี้ย่อม
มีโทษต่าง ๆ เป็นต้นว่าต้องตัดตีนสินมือ ตัดศีรษะเสียบไว้ตามโทษใหญ่และโทษน้อย แม้ว่า
กระทำอกุศลในกลางวันได้ผลในกลางราตรี ถ้ากระทำในราตรีได้ผลในกลางวัน ที่ได้ผลในวันที่
ทำคืนที่ทำนั้นก็มี บางทีได้ผลในสองวัน บางทีได้ผลในสามวัน นี่แหละมนุษย์ซึ่งกระทำอกุศลธรรม
นั้นย่อมได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมได้ผลประจักษ์เช่นนี้ ฝ่ายมนุษย์ซึ่งกระทำกุศลนั้น บาง
พวกได้ให้ทายถวายบริขารแก่ภิกษุรูป 1 บ้าง 2 รูปบ้าง 3 รูปบ้าง 4 รูปบ้าง 5 รูปบ้าง
100 รูปบ้าง 1,000 รูปบ้าง 100,000 รูปบ้าง บางพวกก็รักษาศีล 5 ศีล 10 เป็น
นิตยศีล บางพวกก็รักษาอุโบสถศีล มนุษย์เหล่านั้นที่ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ในปัจจุบันเห็น
ทันตาประจักษ์แจ้งในชาตินี้มีอยู่หรือ พระผู้เป็นเจ้า

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตพระราชสมภาร อันว่า
บุคคลให้ทานศีลสมาทานพระอุโบสถศีล ได้ผลเป็นทิฏฐะเห็นประจักษ์ในชาตินี้ มีอยู่ 4 คน
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ที่ว่ากระทำการกุศลเห็นผลประจักษ์อยู่ 4 คนนั้น โกจิ คือใครบ้าง
พระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า พระเจ้าสกมันธาตุราชนั้นองค์ 1 พระเจ้าเนมิ
ราชพระองค์ 1 พระเจ้าสาธินราชพระองค์ 1 นายติณบาลคน 1 ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา ที่ว่านี้ พระผู้เป็นเจ้านำเอาคน 4 คนมาว่า ความข้อนี้ นานลึกดึกดำบรรพ์
ตั้งแต่สมเด็จพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัส ว่าจำเพาะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้นมี
ใครบ้าง ที่กระทำบุญได้ผลเห็นทันตา นิมนต์ว่าไปเถิดพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนผู้ปรีชาแก้ว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโลกนาถมีพระชนม์อยู่นั้น บุคคล
กระทำกุศลได้ผลเห็นทันตามีอยู่ 6 คน ปุณฺณโก ทาโส คือนายปุรณทาสคน 1 ปุรณทาส
คนนี้ได้ถวายจังหันแก่พระสารีบุตรเถรเจ้า ก็ได้ที่เป็นพระปุณณกเศรษฐีในวันถวายจังหันนั้น ใช่
แต่เท่านั้น ยังมีอยู่อีก 5 คน คือ มารดานายโคบาลคน 1 สุปปิยาอุบาสิกาคน 1 นางมัลลิกา
เทวีคน 1 สมุนมาลาการคน 1 เอกสาฎกพราหมณ์คน 1 จึงเป็น 5 คน 5 คนนั้นกระทำกุศลได้
โภคสมบัติยศศักดิ์เห็นประจักษ์ เป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ นะบพิตรพระราชสมภาร
กิร ดังจะรู้มา สตรีมารดานายโคบาลนั้นประกอบด้วยศรัทธา อตฺตโน เกสํ วิกฺกีณิตฺวา
เอาผมไปขายได้ทรัพย์ 8 กหาปณะ แล้วเอาทรัพย์ 8 กหาปณะนั้นไปซื้อจ่ายเป็นอาหาร
บิณฑบาตถวายพระมหากัจจายนเถรเจ้า ก็ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ได้เป็นอัครมเหสี
ของพระเจ้าอุเทนในวันที่ถวายจังหันนั้น นางสุปปิยาอุบาสิกนั้นเถือเนื้อขาของตนเอง แกงถวาย
แก่พระภิกษุไข้ ก็ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ รุ่งขึ้นวันเป็นคำรบสองบาดแผลที่เชือดนั้นหาย
สนิทหารอยมิได้ นางมัลลิกานั้นได้ถวายขนมถั่วก้อนหนึ่ง แก่สมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธเจ้า
ก็ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์เป็นประจักษ์ คือได้เป็นอัครมเหสีสมเด็จพระเจ้าโกศลในวันถวายทาน
นั้น สุมนมาลากาโร อันว่านายสุมนมาลาการนั้นเล่าถวายดอกมะลิ 8 กำมือโปรยปราบบูชา
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า ก็ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์เห็นประจักษ์ คือได้สมบัติ
เป็นอันมากเป็นของพระราชทาน เอกสาฎกพราหมณ์นั้น มีผ้าห่มผืนเดียวเอาผ้าห่มผืนเดียว

นั้นบูชาสมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้าเสีย ก็ได้ของสิ่งละแปด ๆ ในวันถวายผ้าสาฎกนั้น นี่แหละ
คนกระทำการกุศลครั้งศาสนาพระสัพพัญญูเจ้าได้ผลเห็นประจักษ์มีเท่านี้ รวม 6 คนด้วยกัน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ในศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าของเรานี้ มีคนทำกุศลได้ผลเห็นทันตา
6 คนเท่านั้นดอกหรือ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร มี 6 คนเท่านี้แหละ พระราช-
สมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าคนกระทำการกุศลได้ผลเห็นทันตา มี 6 คนเท่านั้นแล้ว โยมเห็นว่า
อกุศลนี้มีกำลังกล้ากว่ากุศลแท้ นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า คนที่กระทำอกุศลได้ผลเห็นทันตานั้นมาก
กว่ามาก เอกํ สมยํ กระทำครั้งหนึ่ง 10 คนก็มี 20 คนก็มี 30 คนก็มี 40 คนก็มี 50 คนก็มี
100 คนก็มี เหมือนเมื่อครั้งภัททปาลเสนาบดีของพระเจ้าจันทคุตต์นั้น กระทำสงครามกัน
กับพระเจ้าจันทคุตต์นั้นเอง พลนิกายทั้งสองฝ่ายกองทัพนั้น มีมือสักกระสันด้วยดาบอันคมกล้า
๋ฆ่าฟันกันตายฉิบหายนี้มากกว่ามากนัก ก็เพราะว่ากระทำอกุศลได้ผลเห็นทันตา เหตุฉะนี้โยม
จึงเห็นว่าอกุศลนั้นแรงกล้ากว่ากุศล สุยฺยติ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ได้
ยินบ้างหรือไม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ยังทรงทรมานมีพระชนม์อยู่นั้น
พระเจ้าโกศลราช ถวายอสทิสทานครั้งนั้น พระผู้เป็นเจ้าได้สวนาการบ้างหรือว่าหามิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อาตมา
ได้สวนาการฟังทราบอยู่
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค-
เสนผู้ปรีชา ตกว่าพระเจ้าโกศลราชถวายอสทิสทานครั้งนั้น ได้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์เห็นทัน
ตาหรือไม่เล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้าโกศลให้อสทิสทานนั้นจะได้ผลเป็นทิฏฐะเห็นทันตาหามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อสทิสทานที่พระเจ้าโกศลถวายครั้งนั้น ลือชาปรากฏในโลกทีเดียว เหตุไฉน
จึงไม่ได้ผลเป็นทิฏฐะเห็นทันตา เหตุฉะนี้โยมจึงว่า กุศลมีผลอ่อน หากล้าไม่ แต่อกุศลนั้นมีผล
กล้าจึงได้เร็ว

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า
อกุศลมีผลน้อยจึงพลันที่จะให้ได้ผล กุศลมีผลมากจึงได้ให้ผลช้า จะอุปมาถวาย มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าธัญชาติข้าวเปลือกมี 2 อย่าง อย่างหนึ่งชื่อ
ว่ากุมุทธภัณฑิกะ คือ ข้าวละมานมักมีอยู่ในปัจจันตประเทศ ข้าวนั้นเป็นข้าวเบาหว่านลงในนา
เดือนเดียวก็ได้ผล แต่ทว่าได้น้อยไป อย่างหนึ่งชื่อว่าข้าวสาลี 6 เดือนหรือ 5 เดือนจึงได้ผล
แต่ทว่าได้มาก นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร ข้าว 2 ประการนี้ ใครจะมีภาษีกว่ากัน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าข้าวสาลีนั้นมีภาษีกว่า ราชารหํ รญฺญูปโภคํ ควรแก่พระราชา เป็นที่
ท้าวพระยามหากษัตริย์ทรงเสวย อันว่าข้าวกุมุทธภัณฑิกะนั้น เป็นที่บริโภคแห่งทาสกรรมกร
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ความ
เปรียบ 2 ประการนั้น ยถา มีอุปมาฉันใด อันว่าอกุศลให้ผลน้อยจึงได้ผลเร็ว เปรียบเหมือน
ข้าวเบา กุศลนั้นให้ผลมากแต่ได้ข้า เหมือนข้าวสาลีเป็นข้าวหนักให้ผลช้า ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ทำไมพระผู้เป็นเจ้าจึงวิสัชนาว่าอกุศลได้ผลเร็วแต่ได้น้อยเล่า โยมเห็นว่า
บุคคลกระทำอกุศลได้ผลเร็ว นี่แหละมีกำลังแรงจึงให้ผลเร็ว นี่แหละโยมจะเปรียบให้ฟัง ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาว่าโยธาผู้ใดเข้าสู่ณรงค์สงคราม ปราบปรามข้าศึกให้อัปราชัยจับตัว
นายทัพมาได้ โยธาผู้นั้นก็ย่อมจะมีชื่อระบือลือชาว่าแกล้วกล้าหาโยธาอื่นจะเทียมทันมิได้ ประ
การหนึ่ง ภีสโก หมอผู้ใดรักษาไข้ถอนพิษไข้ให้โรคหายได้เร็ว หมอนั้นก็นับว่าเป็นหมอที่ดี
ฉลาดกว่าหมอทั้งหลาย ย่อมจะได้ความยกย่องว่า เป็นหมอเอก ประการหนึ่ง โย คณโก อันว่า
คนคำนวณนับผู้ใด ถ้านับได้รวดเร็วว่องไว ของมากมายนับครู่เดียวก็แล้ว ไม่เนิ่นช้า คน
คำนวณนับผู้นั้น ก็ย่อมได้รับความยกย่องว่าคำนวณเก่ง อีกประการหนึ่ง มลฺโล อันว่าคนปล้ำ
ผู้ใด ปฏิมลฺลํ คเหตฺวา อาจสามารถที่จะปล้ำคนอื่นให้ล้มลงทั้งยืน นอนดิ้นระด่าวอยู่กับ
พื้นแผ่นดิน ถึงซึ่งความอัปราชัยในท่ามกลางประชุม โลกก็เรียกว่าคนปล้ำคนนั้นมีแรงกล้า
ยถา มีอุปมาฉันใด อันว่าอกุศลก็ให้ผลเร็วเหมือนดังนั้น เหตุนั้นโยมจึงเห็นว่า อกุศลมีผลมาก
ให้ผลเร็วแรงกล้าในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า
กุศลกับอกุศลนี้ ก็ให้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์เห็นทันตา และสัมปรายิกเวทนีย์ชาติหน้าดุจเดียวกัน
แต่ทว่ากุศลนั้นแรง อกุศลนั้นไม่แรงไม่กล้ากว่ากุศล กุศลกล้ากว่า อาตมาจะวิสัชนาให้เห็น ซึ่ง

ว่าอกุศลให้ผลเป็นทิฏฐะเห็นทันตาตามมหาสาวัชชโทษนั้น มีลักษณะอยู่อย่างนี้ ข้อซึ่ง
บพิตรพระราชสมภารเปรียบมาว่า เห็นคนทั้งหลายกระทำอกุศล คือปล้นสะดมฆ่าชาวบ้าน
ฉกตีกลางทางเป็นต้น แล้วได้ความฉิบหายล้มตายตัดตีนสินมือนั้น จะจัดว่าเป็นทิฏฐธรรม-
เวทนีย์อกุศลให้ผลเห็นทันตานี้ยังว่าไม่ได้โดยแท้ ด้วยราชบัญญัติมีมาแต่ก่อนเป็นราชกำหนด
สมเด็จบรมกษัตราธิราชตั้งไว้ว่า บุคคลกระทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ที่มีคุณ เป็นต้นว่าฆ่ามนุษย์
และบุคคลกระทำอทินนาทานปล้นสะดมฉ้อโกหก และบุคคลกระทำกาเมสุมิจฉาจารประพฤติ
ิผิดภรรยาท่าน และบุคคลกล่าวมุสา คือ เจรจาให้เขาเสียทรัพย์ เจรจาหยาบคาย คือปริภาษนา
ด่าด้วยกล่าวคำหยาบช้า และบุคคลเสพสุรายาเมานั้น มีสถานโทษให้ลงอาญาตามโทษ เมื่อ
อาณาประชาชนกระทำกรรมผิดจากพระราชกำหนดบทพระอัยการแล้ว ท่านก็ลงพระราชอาชญา
ฆ่าตีตามสถานโทษ จึงเห็นว่าอกุศลให้ผลเร็วมีกำลัง ก็ถ้าจะตั้งกฎหมายไว้บังคับว่าบุคคล ที่ตั้ง
อยู่ในศีล 5 เป็นนิตยศีลแล้ว ให้พระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ทรัพย์บริวารให้เขานั้น ๆ และ
บุคคลซึ่งหมั่นรักษาอุโบสถนั้น พระราชทานให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น กฎหมายอย่างนี้มีหรือหามิได้
บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า กฎหมายเช่นพระผู้เป็น
เจ้าถามนั้นไม่มี
พระนาคเสนถวายพระพรว่า เพราะกฎหมายไม่มี คนที่ทำกุศลจึงไม่ได้ผลเห็นทันตา
เป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์เหมือนกับคนที่ทำอกุศลนั้น ที่จริงนั้น ถ้าว่าจะให้ผลเป็นสัมปรายิกภาย
หน้าแล้ว กุศลนั้นแหละให้ผลกล้าเรี่ยวแรงกว่าอกุศล
เมื่อพระนาคเสนวิสัชนาดังนี้ สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาก็ปลงพระปัญญาเห็นด้วย
จึงตรัสสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สธุสะ ผู้เป็นเจ้านี้เป็นวุฒิมันต-
บุคคล คือบุคคลมีญาณจำเริญยิ่ง จึงแก้ปัญหานี้ได้ โยมว่าตามโลกีย์ พระผู้เป็นเจ้าแก้ด้วย
โลกุตระ ทีนี้โยมเห็จด้วยแล้วว่า กุศลมีกำลังกว่าอกุศล โยมขอรับไว้ในกาลบัดนี้
จึงมีคำอธิบายจะให้เห็นว่า กุศลนั้นกล้ากว่าอกุศล ธรรมดาว่าบุคคลอันได้โลกุตระ
เหมือนเช่นพระองคุลิมาลเถระ เมื่อเป็นโจรอยู่นั้นฆ่าฟันมนุษย์เสียเป็นอันมาก ครั้นบรรพชาก็
ได้สำเร็จแก่พระโลกุตรธรรม กรรมที่ฆ่าฟันมนุษย์นั้นหาตามทันไม่ เป็นอโหสิกรรมไป สาธุสัต-
บุรุษพึงเข้าใจเถิดว่า กุศลนี้กล้าอาจสามารถที่จะนำตนให้ถึงนิพพาน ข้ามพ้นอกุศลไปได้
ดุจพระองคุลิมาลเถระนั้น
กุสลากุสลานัง พลวาพลวปัญหา คำรบ 7 จบเพียงนี้

เปตานัง อุททิสสผลปัญหา ที่ 8


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อิเม ทายกา อันว่าทายกทั้งหลายนี้ ย่อมให้ทานแล้วอธิษฐานจิต
อุทิศส่วนกุศลว่า ด้วยเดชะที่ข้าพเจ้ากระทำการกุศลครั้งนี้ อิมํ เตสํ ปาปุณาตุ อันว่าผลกุศลนี้
จงได้แก่บิดามารดาญาติกามิตรสหายบุตรภรรยาสามีของข้าพเจ้า ที่ตายไปสู่ปรโลกนั้นเถิด นี่
แหละพระผู้เป็นเจ้า ชนทั้งหลายที่ตายไปสู่ปรโลกนั้น จะได้ผลกุศลที่ทายกอุทิศให้หรือประการใด
พระนาคเสนมีเถรวาจาวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
บางจำพวกก็ได้ บางจำพวกก็ไม่ได้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า เป็นเหตุอะไรอย่างนั้น พระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ด้วยคน
ทั้งหลายที่ตายไปสู่ปรโลกนั้น บางจำพวกไปเกิดในนรก บางจำพวกไปเกิดในสวรรค์เสวยรมย์
ชมสมบัติทิพย์ ติรจฺฉานโยนิคตา บางจำพวกไปเกิดในติรัจฉานกำเนิด เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
สัตว์ 3 จำพวกนี้ ถึงทายกจะแผ่ส่วนบุญกุศลให้ก็ไม่ได้เลย ประการหนึ่ง เป็นอสุรกายก็ดี เป็น
ขุปปิปาสิกาเปรตอดข้างอดน้ำก็ดี เป็นนิชฌามตัณหิกเปรตเพลิงไหม้อยู่เป็นนิตย์ก็ดี 3 จำพวกนี้
ึถึงญาติจะแผ่ส่วนบุญให้ก็ไม่ได้ จะได้อยู่แต่ปรทัตตูปชีวเปรตนั้นจำพวกเดียว ด้วยปรทัตตูปชีวี
เปรตนั้น มีชีวิตอยู่ด้วยทายกอุทิศส่วนกุศลให้ ถ้าว่าบิดามารดาคณาญาติมิตรบุตรธิดาสามีตาย
ไปสู่ปรโลกนั้น ตายไปเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต แม้ทายกอุทิศส่วนบุญให้ก็ได้รับ ถ้าไม่ได้เกิดเป็น
ปรทัตตูปชีวีตเปรตแล้ว ถึงทายกแผ่ส่วนบุญให้ก็ไม่ได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชาทานที่ทายกถวายแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดาเป็นต้นที่ตายไปสู่
ปรโลก ถ้าบิดามารดาเป็นต้นนั้น มิได้เกิดเป็นปรทัตตูปชีวิเปรตก็ไม่ได้แล้ว ผลทานนั้นจะ
มิสูญเปล่าหรือ ถ้าว่าญาติบิดามารดาเป็นต้นเกิดเป็นอื่น ผลทานนั้นก็สูญเปล่า ไม่เป็น
ประโยชน์นะซิ พระผู้เป็นเจ้า.
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ผลทาน
นั้นจะสูญเปล่าหามิได้ ทายกผู้ให้ทานนั้นก็ได้ผลทานนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า